ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย
เรื่อง ประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองท้องถิ่นฝ่ายบริหาร
ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
พ.ศ. ๒๕๖๒
ประมวลจริยธรรมนี้จัดทำ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๗๙ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
๑. เป็นเครื่องมือกำกับความประพฤติของข้าราชการการเมืองท้องถิ่นฝ่ายบริหาร องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย ที่สร้างความโปร่งใส มีมาตรฐาน ในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและเป็นสากล
๒. ยึดถือเป็นหลักการและแนวทางปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และเป็นเครื่องมือการตรวจสอบการทำงานด้านต่างๆ ทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคล เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามหลักคุณธรรม จริยธรรม อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
๓. ทำให้เกิดรูปแบบองค์กรอันเป็นที่ยอมรับ เพิ่มความน่าเชื่อถือ เกิดความมั่นใจแก่ผู้รับบริการและประชาชนทั่วไป ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสีย
๔. ให้เกิดพันธะผูกพันระหว่างองค์กรและบุคคลในทุกระดับ โดยใช้อำนาจในขอบเขตสร้างความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ต่อองค์กร ต่อประชาชน และต่อสังคม ตามลำดับ
๕. ป้องกันการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ และความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ รวมถึงเพื่อใช้เป็นค่านิยมร่วมสำหรับองค์กรและบุคคล พึงยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติควบคู่ไปกับระเบียบและกฎข้อบังคับอื่นๆอย่างทั่ว ถึงและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามพระราช บัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย จึงออกประกาศไว้ดังนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๑ ประกาศฉบับนี้เรียกว่า “ประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองท้องถิ่นฝ่ายบริหารขององค์การบริหาร ส่วนตำบลทุ่งน้อย พ.ศ. ๒๕๕4
ข้อ ๒ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่ เมษายน ๒๕๕4 เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“ประมวลจริยธรรม” หมายถึง ประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองท้องถิ่นฝ่ายบริหาร
“ข้าราชการการเมืองท้อง ถิ่น” หมายถึง ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นฝ่ายบริหาร(นายกฯ รองนายกฯ เลขานุการนายกฯ ที่ปรึกษานายกฯ ) รวมทั้งบุคคลที่ฝ่ายบริหารแต่งตั้ง ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติที่จัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
“คณะกรรมการจริยธรรม” หมายถึง คณะกรรมการจริยธรรมของข้าราชการการเมืองท้องถิ่นฝ่ายบริหารของ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย
ข้อ ๔ ให้ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย เป็นผู้รักษาการตามประมวลจริยธรรมนี้
หมวด ๒
มาตรฐานจริยธรรม
ส่วนที่ ๑
มาตรฐานจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก
ข้อ ๕ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม เป็นกลำงทางการเมือง อำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดมั่นในมาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นค่ำนิยมหลัก ๙ ประการ ดังนี้
(๑) การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม
(๒) การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบ
(๓) การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
(๔) การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย
(๕) การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ
(๖) การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
(๗) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
(๘) การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๙) การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร
ส่วนที่ ๒
มาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการการเมืองท้องถิ่น
ข้อ ๖ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศำสนา และพระมหากษัตริย์ ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดีในการเคำรพและรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ข้อ ๗ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษำไว้และปฏิบัติตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ
ข้อ ๘ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นพลเมืองดี เคารพ และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ข้อ ๙ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องปฏิบัติอยู่ในกรอบจริยธรรม คุณธรรม และศีลธรรม ทั้งโดยส่วนตัวและโดยหน้าที่รับผิดชอบต่อสาธารณชน ทั้งต้องวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน
ข้อ ๑๐ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องเคำรพสิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่นโดนไม่แสดงกิริยา หรือวาจาอันไม่สุภาพ อาฆาตมาดร้าย หรือใส่ร้ายหรือเสียดสีบุคคลใด
ข้อ ๑๑ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องมีอุดมการณ์ในการทำงานเพื่อประเทศชาติและต้อง ถือเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสิ่งสูงสุด
ข้อ ๑๒ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องรับใช้ประชาชนอย่างเต็มความสำมารถด้วยความรับ ผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติและปราศจากอคติ
ข้อ ๑๓ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องมีจิตสำนึกให้ประชาชนในท้องถิ่นประพฤติตนเป็น พลเมืองที่ดี ร่วมพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่คู่คุณธรรม และดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในพื้นที่รับผิดชอบ
ข้อ ๑๔ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องไม่ใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานะ หรือตำแหน่งการเป็นข้าราชการการเมือง ไปแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สินหรือก็ตาม
ข้อ ๑๕ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นข้าราชการการ เมืองไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการบรรจุ การแต่งตั้ง ย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง และเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ และมิใช่ข้าราชการการเมือง พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
ข้อ ๑๖ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องไม่ยินยอมให้คู่สมรส ญาติสนิท บุคคลในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของตน เองหรือของผู้อื่นและต้องไม่ยินยอมให้ผู้อื่นใช้อำนาจหน้าที่ของตนเองโดยมิ ชอบ
ข้อ ๑๗ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องระมัดระวังมิให้การประกอบวิชาชีพ อาชีพหรือการงานอื่นใดของคู่สมรส ญาติสนิท หรือบุคคลในครอบครัวของตนที่มีลักษณะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือ ศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
ข้อ ๑๘ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น ต้องรักษำความลับของทางราชการ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
ข้อ ๑๙ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น ต้องยึดมั่นในกฎหมายและต้องคำนึงถึงระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งผู้สมควรดำรง ตำแหน่งต่างๆ
ข้อ ๒๐ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น เมื่อพ้นจากตำแหน่งแล้ว ต้องไม่นำข้อมูลข่าวสารอันเป็นความลับของทางราชการ ซึ่งตนได้มาในระหว่างอยู่ในตำแหน่งไปใช้เพื่อเกิดประโยชน์แก่องค์กรเอกชน ทั้งนี้ภายในกำหนดระยะเวลาสองปี นับจากวันที่พ้นจากตำแหน่ง
ข้อ ๒๑ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น ต้องเปิดเผยข้อมูลการทุจริตการใช้อำนาจในทางที่ผิด การฉ้อฉล หลอกลวง หรือกระทำการอื่นใดที่ทำให้ราชการเสียหายต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
ข้อ ๒๒ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น ต้องไม่เรียกร้องของขวัญ ของกำนัล หรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ต่ำงๆอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของตน และจะต้องดูแลให้คู่สมรส หรือบุคคลในครอบครัวของตนปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย
ข้อ ๒๓ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น ต้องปฏิบัติต่อองค์การธุรกิจที่ติดต่อทำธุรกิจกับหน่วยงานของรัฐตามระเบียบ และขั้นตอนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ
ข้อ ๒๔ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น พึงพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนอย่างสม่ำเสมอ เอาใจใส่ทุกข์สุข และรับฟังเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชน และรีบหาทางช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน อย่ำงเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ
ข้อ ๒๕ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น ต้องไม่ใช้หรือบิดเบือนข้อมูลข่าวสารของทางราชการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือเพื่อผลประโยชน์สำหรับตนเองและผู้อื่น
ข้อ ๒๖ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น ต้องรักษาทรัพย์สินของทางราชการและใช้ทรัพย์สินของทางราชการให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์นั้นๆเท่านั้น
ข้อ ๒๗ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น ต้องไม่ประพฤติตนอันก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติภูมิของชาติ
ข้อ ๒๘ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น ไม่คบหาหรือให้การสนับสนุนแก่ผู้ประพฤติผิดกฎหมายหรือผู้ที่มีความประพฤติใน ทางเสื่อมเสีย เช่น ผู้เปิดบ่อนการพนัน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับยาเสพติด อันอาจกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของ ตน
ข้อ ๒๙ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น ต้องแสดงความรับผิดชอบ ตามควรแก่กรณี เมื่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดร้ายแรง
หมวด ๓
กลไกและระบบบังคับใช้ประมวลจริยธรรม
ส่วนที่ ๑
กลไกการบังคับใช้ประมวลจริยธรรม
ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างทั่วถึง และเคร่งครัด โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑) ดำเนินการเผยแพร่ ปลูกฝัง ส่งเสริม ยกย่องข้าราชการที่เป็นแบบอย่างที่ดีและติดตามสอดส่องการปฏิบัติตามประมวล จริยธรรมนี้อย่างสม่ำเสมอ
(๒) ให้ความช่วยเหลือ ดูแล และคุ้มครองข้าราชการการเมืองท้องถิ่นซึ่งปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่ำ งตรงไปตรงมา มิให้ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรม
(๓) การดำเนินการต่อข้าราชการการเมืองท้องถิ่น ที่อยู่ระหว่างถูกกล่าวหาว่าไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ อันมีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของผู้นั้นจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมแล้ว
(๔) ดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในประมวลจริยธรรมนี้
ข้อ ๓๑ ให้ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมของข้าราชการการเมืองท้องถิ่นฝ่ายบริหารของ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย ขึ้น เพื่อควบคุม กำกับ ให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ ประกอบไปด้วย
(๑) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นประธานคณะกรรมการจริยธรรม
(๒) ตัวแทนฝ่ายบริหารที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแต่งตั้งจำนวน ๑ คน เป็นคณะกรรมการ
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก จำนวน ๓ คน ที่กำกับดูแลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ เป็นผู้เลือก เป็นคณะกรรมการ
(๔) หัวหน้าสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นเลขานุการคณะกรรมการ ทั้งนี้ หัวหน้าสำนักงานปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังกล่าวต้องไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยมาก่อน หากเคยถูกลงโทษทางวินัยมาก่อนให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล พิจารณาแต่งตั้งข้าราชการจากตำแหน่งในฝ่ายบริหาร
ข้อ ๓๒ คณะกรรมการจริยธรรมมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) ควบคุม กำกับ ส่งเสริมและให้คำแนะนำในการใช้บังคับประมวลจริยธรรมนี้ในองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น
(๒) สอดส่องดูแลให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยอาจมีผู้ร้องขอหรือตามที่คณะกรรมการจริยธรรมเห็นเองก็ได้
(๓) ขอความร่วมให้กระทรวง กรม หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือห้างหุ้นส่วน บริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๔) เรียกผู้ถูกกล่าวหา หรือราชการของหน่วยงานนี้มาชี้แจง หรือให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสอบสวน
(๕) พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหากันเกิดจากการใช้บังคับประมวยจริยธรรมนี้
(๖) ส่งเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่เห็นว่าเรื่องนั้น เป็นเรื่องสำคัญหรือมีผลกระทบในวงกว้างหลายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๗) ดำเนินการอื่นตามประมวลจริยธรรมนี้ หรือตามตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมอบหมาย
ในการประชุมคณะกรรมการจริยธรรมให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ส่วนที่ ๒
ระบบบังคับใช้ประมวลจริยธรรม
ข้อ ๓๓ กรณีมีการร้องเรียนหรือปรากฏเหตุว่ามีเจ้าหน้าที่ประพฤติปฏิบัติฝ่าฝืน ประมวลจริยธรรม ให้ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย ส่งเรื่องให้คณะกรรมการจริยธรรมเป็นผู้รับผิดชอบพิจารณาดำเนินการ โดยจะต้องไต่สวนข้อเท็จจริง สืบสวนหาข้อเท็จจริง หรือสอบสวนการฝ่าฝืนจริยธรรมนี้ และให้มีคำวินิจฉัยโดยเร็ว และให้คณะกรรมการจริยธรรมส่งผลคำวินิจฉัยให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล มีคำสั่งลงโทษผู้ฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม
กรณีการร้องเรียนหรือปรากฏเหตุว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม ให้คณะกรรมการจริยธรรมที่เหลืออยู่เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ และให้เลือกกันเองเป็นประธานกรรมการ โดยจะต้องไต่สวนข้อเท็จจริง สืบสวนหาข้อเท็จจริง หรือสอบสวนการฝ่าฝืนจริยธรรมนี้ และให้มีคำวินิจฉัยโดยเร็ว และให้คณะกรรมการจริยธรรมส่งผลคำวินิจฉัยให้ผู้กำกับดูแลตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆมีคำสั่งลงโทษผู้ฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม
ข้อ ๓๔ หากการดำเนินการไต่สวน สืบสวน สอบสวนตามข้อ ๓๓ แล้ว ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมให้สั่งยุติเรื่อง แต่หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าเป็นการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม ให้สั่งลงโทษผู้ฝ่าฝืนตามข้อ ๓๗
ข้อ ๓๕ การดำเนินการไต่สวน สืบสวน สอบสวนทางจริยธรรมและการลงโทษผู้ฝ่าฝืนตามส่วนที่ ๒ นี้ ให้นำแนวทางและวิธีการสอบสวนตามมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัย และการรักษำวินัยและการดำเนินการทางวินัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๓๖ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจริยธรรมให้ถือเป็นที่สุด เว้นแต่
๑) ปรากฏข้อเท็จจริงในภำยหลังที่อำจทำให้ผลของคำวินิจฉัยนั้นเปลี่ยนแปลงไป
๒) กรณีถูกลงโทษตามข้อ ๓๗ เห็นว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมให้สำมรถร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ภำยใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่รับทราบคำสั่งการลงโทษ
หมวด ๔
ขั้นตอนการลงโทษ
ข้อ ๓๗ การประพฤติปฏิบัติฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมนี้ ให้ดำเนินการตามควรแก่กรณี เพื่อให้มีการแก้ไขหรือดำเนินการที่ถูกต้อง หรือตักเตือน หรือนำไปประกอบการพิจารณาในการเข้าสู่ตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง หรือการสั่งการให้ผู้ฝ่าฝืนนั้นปรับปรุงตนเอง หรือได้รับการพัฒนาแล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๘ การปฏิบัติฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมนี้ จะถือเป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงหรือไม่ ให้พิจารณาจากพฤติกรรมของผู้ฝ่าฝืน ความจงใจหรือเจตนา มูลเหตุจูงใจ ความสำคัญและระดับตำแหน่ง ตลอดจนหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ฝ่าฝืน อายุ ประวัติ และความประพฤติในอดีตสภำพแวดล้อมแห่งกรณี ผลร้ายอันเกิดจากการฝ่าฝืน และเหตุอื่นอันควรนำมาประกอบการพิจารณา
ข้อ ๓๙ ให้คณะกรรมการจริยธรรม ดำเนินการตามข้อ ๓๕ และส่งผลคำวินิจฉัยให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือผู้กำกับดูแลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ แล้วแต่กรณี มีคำสั่งลงโทษผู้ฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมนี้ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ จริยธรรม และเมื่อมีคำสั่งลงโทษแล้วให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือผู้กำกับดูแลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ แล้วแต่กรณี แจ้งคณะกรรมการจริยธรรม เพื่อรำยงานให้ผู้ตรวจการแผ่นดินทราบต่อไป
ข้อ ๔๐ กรณีเกิดปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
ข้อ ๔๑ ให้คณะกรรมการจริยธรรม พิจารณาปรับปรุงแก้ไขประมวลจริยธรรมให้มีความเหมาะสม โดยจัดให้มีการประเมินการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ทุกๆ ๑ ปี หรือให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขประมวลจริยธรรมให้มีความเหมาะสมตามคำแนะนำของ ผู้ตรวจการแผ่นดินต่อไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 1 เดือน เมษำยน พ.ศ. ๒๕๕4
(นายณัฐ พรรณพัฒน์)
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย